บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2020

นายสุธรรม บุญเฟื่อง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ได้ออกติดตามการจัดส่งโดโลไมท์เกษตรแปลงใหญ่มะพร้าว อำปากพนัง​

รูปภาพ
27 มีนาคม 2563 นายสุธรรม บุญเฟื่อง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยนายอุดม กายอ พนักงาน​ทดสอบดิน ส.2 ได้ออกติดตามการจัดส่งโดโลไมท์เกษตรแปลงใหญ่มะพร้าว พื้นที่หมู่​ที่​ 8 ตำบล​คลองน้อย อำเภอ​ปากพนัง จังหวัด​นครศรีธรรมราช ครบตามเป้าหมาย 2 ตัน

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนาที่ดินที่ 6 ลงพื้นที่เพื่อติดตามการส่งมอบปัจจัยการผลิตของเกษตรแปลงใหญ่

รูปภาพ
วันที่ 26 มีนาคม 2563 หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 6 นาย ธรรมรงค์ เรืองช่วย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการส่งมอบปัจจัยการผลิตของเกษตรแปลงใหญ่ (ยางพารา) หมู่​ที่​ 5 ตำบล​บ้านนิคม อำเภอ​บางขัน และเกษตรแปลงใหญ่ (มังคุด) หมู่​ที่​ 9 ตำบล​ถ้ำใหญ่ อำเภอ​ทุ่งสง จังหวัด​นครศรีธรรมราช

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 5 ลง​พื้นที่​สำรวจ​ปริมาณ​น้ำ​แหล่ง​ของ​กรมพัฒนา​ที่ดิน​ อำเภอ​ฉลาง

รูปภาพ
วันที่​ 26 มีนาคม​ 2563​ หน่วยวิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่​ดิ​นที่ 5 ขอรานงานการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำเป้าหมาย 20 แห่ง มีการถ่ายโอนแล้ว 5 แห่ง และยังไม่ได้ถ่ายโอนอีก 15 แห่ง ขอรายงานในพื้นที่อำเภอ​ฉวาง 9 แห่งดังนี้ 1.โครงการฝายน้ำล้น หมู่ที่ 12 ตำบล​ละอายมี 2 โครงการ. พบว่ามีปริมาณน้ำเหลือประมาณ 50% ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค และภาคเกษตร ไม้ผลและพืชผักจำนวน 270 ครัวเรือน 2.ระบบท่อส่งน้ำ หมู่​ที่​ 2 ตำบล​ละอาย อำเภอ​ฉวาง ท่อชำรุดใช้ใการไม่ได้ แต่เกษตรกรช่วยกันซ่อมจนใช้งานได้ 3.โครงการขุดลอกหนองบ้านหัวสะพานหมอ หมู่ที่ 12 ตำบล​ละอาย น้ำแห้ง ตื้นเขิน 4.โครงการระบบท่อส่งน้ำ หมู่​ที่​ 10 บ้านห้วยทรายขาว ตำบล​นาแว มีน้ำประมาณ 50% ท่อชำรุด 5.โครงการสรพเก็บน้ำ หมู่​ที่ 3 บ้านคลองชัยเหนือ ตำบลกะเปียด น้ำตื้นเขินมีน้ำสามารถใช้ได้ประมาณ 3% 6.ฝายน้ำล้นบ้านคลองสาย หมู่​ที่​ 4 ตำบล​ห้วยปริก มีปริมาณน้ำคงเหลือ 30% ชาวบ้านบอกว่าคงใช้ได้อีกประมาณ 20 วัน ก็น่าจะหมด 7.โครงการฝายนำล้น หมู่​ที่​ 7 บ้านห้วยทรายงาม ตำบล​ห้วยปริก ฝายชำรุดใช้การไม่ได้ น้ำตื้นเขิน

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่​ดิ​นที่​ 1 สำรวจ​ปริมาณ​น้ำ​แหล่ง​น้ำ​ขนาดเล็ก​ที่​กรมพัฒนา​ที่ดิน​ดำเนิน​การ​ ตำบล​หู​ล่อง ​อำเภอ​ปากพนัง​

รูปภาพ
25 มีนาคม 2563 นายสุธรรม บุญเฟื่อง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพร้อมด้วยนางสาวศรัญญา วรศาสตร์ นักวิชาการเกษตรและนายอุดม กายอ พ.ทดสอบดิน ส.2 ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่หมู่​ที่​ 3 ตำบล​หูล่อง อำเภอ​ปากพนัง มีปริมาณน้ำหน้าประตูปิด-เปิดน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ น่าจะเพียงพอต่อการเกษตรเพราะแหล่งน้ำต้นทุนยังมีมาก เกษตรกรปลูกมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

หน่วนวิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่​ดิ​นที่​ 2 สำรวจ​ปริมาณ​น้ำ​แหล่ง​น้ำ​ขนาดเล็ก​ของ​กรมพัฒนา​ที่​ดิน​ อำเภอพระพรหมและอำเภอ​ร่อน​พิบูลย์​

รูปภาพ
วันที่  25  มีนาคม 2563  หน่วยวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 2 โดย นางละออ  วงศ์สวัสดิ์  เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน พร้อมด้วย นายสุวิทย์  ศรีวิทยารัตน์ ลงสำรวจปริมาณน้ำของโครงการแหล่งน้ำกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่อำเภอพระพรหม  ฝายน้ำล้นตำบลนาสาร และตำบลช้างซ้ายเหลือปริมาณน้ำประมาณ 40%และเกษตรกรที่ปลูกมันเทศและปลูกผักในตำบลช้างซ้าย ประมาณ 500ไร่  จำเป็นต้องใช้น้ำจากฝายน้ำล้น หมู่​ที่ 12  ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม  น้ำที่เหลืออาจจะได้ไม่ถึง 1 เดือน และแหล่งน้ำในพื้นที่ หมู่ที่ 3  ตำบล​เสาธง  อำเภอร่อนพิบูลย์  ระดับน้ำ ประมาณ  70%  ยังทำน้ำประปาหมู่บ้านได้เพียงพอ

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 7​ ลง​พื้นที่​ตรวจ​บ่อจิ๋ว คำขอเพิ่ม​เติม​ปี 63

รูปภาพ
25 มีนาคม​ 2563 หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 7​ โด​ยนาย​วิจารณ์​ ธานี​รัตน์​ นักวิชาการ​เกษตร​ชำนาญ​การ​พิเศษ​ และ​เจ้า​หน้าที่​ ลงพื้น​ตรวจ​แปลงที่ส่งคำขอขุดแหล่ง​น้ำ​ใน​ไร่นา​นอก​เขต​ชลประทาน​ เพิ่มเติม​ปี 2563 เพื่อ​บรรเทา​ความเดือดร้อน​ของ​เกษตรกร​ในช่วง​ฤดูแล้ง​ จำนวน 3 บ่อ ในพื้นที่​หมู่​ที่​ 1, 5 และ 16 ตำบล​ช้างกลาง​ อำเภอ​ช้างกลาง​ จังหวัด​นครศรี​ธรรมราช

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 7 ลง​พื้นที่​ตรวจ​ปริมาณ​น้ำ​ใน​แหล่ง​น้ำ​ขนาดเล็ก​ที่​กรมพัฒนา​ที่ดิน​ดำเนิน​การ​ไว้ และจุดส่งมอบโดโลไมต์ อำเภอ​ช้างกลาง​

รูปภาพ
วันที่​ 24 มีนาคม​ 2563​ หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 7​ โดยนาย​วิจารณ์​ ธานี​รัตน์​ นักวิชาการ​เกษตร​ชำนาญการ​พิเศษ​ และ​เจ้า​หน้าที่​ ลงพื้น​ตรวจ​ปริมาณ​น้ำในแหล่ง​น้ำขนาดเล็ก​ที่​กรมพัฒนา​ที่ดิน​ดำเนิน​การไว้ใน อำเภอ​ช้างกลาง​  ได้เแก่ ฝายน้ำล้น สระเก็บน้ำ และขุดลอกคลอง ว่ามี​ผลกระทบ​จาก​เหตุการณ์​ภัยแล้ง​ ในพื้นที่สระ​เก็บน้ำ หมู่​ที่​ 7 ตำบล​ช้างกลาง​ มีปริมาณ​น้ำเหลือ​เก็บ 40 %  และขุดลอกคลอง หมู่ที่ 5 ตำบล​หลักช้าง มีปริมาณ​น้ำเหลือเก็บ 60 % ซึ่งเพียงพอ​ในการใช้อุปโภค​และการเกษตร​ในช่วงฤดูแล้ง​ และ​ตรวจจุดส่งมอบโดโลไมต์แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 5 ตำบลช้างกลาง​  อำเภอช้างกลาง​ จังหวัด​นครศรี​ธรรมราช​  จำนวน 240 กระสอบ 6 ตัน

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่​1 ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งน้ำขนาดเล็กของกรมพัฒนาที่ดิน อำเภอ​ปากพนัง​

รูปภาพ
24 มีนาคม 2563 นายสุธรรม บุญเฟื่อง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วยนายอุดม กายอ พ.ทดสอบดิน ส.2 ได้ออกพื้นที่สำรวจปริมาณน้ำแหล่งของกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบล​บ้านใหม่ อำเภอ​ปากพนัง ปรากฎว่ามีปริมาณน้ำประมาณ 20-30 เปอร์เซนต์ และหมู่ที่ 2 ตำบล​ชะเมา อำเภอ​ปากพนัง ไม่น้ำเหลือเก็บเลย​ น่าจะไม่เพียงพอต่อการเกษตรหากฝนไม่ตกลงมาภายในเดือนนี้