บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2023

หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 1 อบรมหมอดินอาสา 4.0 สพด. นครศรีธรรมราช (อำเภอ​ทุ่งใหญ่)​

รูปภาพ
หน่วย​วิชาการ​เพื่อ​การพัฒนา​ที่ดิน​ที่​ 1 อบรมหมอดินอาสา 4.0 สพด. นครศรีธรรมราช (อำเภอ​ทุ่งใหญ่)​ .................................................. วันที่ 19-20 มิถุนายน​ 2566 หน่วยวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1 จัดอบรมโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 โดยสถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหมอดินอาสามืออาชีพที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน และพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตรโดยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาพื้นที่การเกษตรของตนเอง ซึ่งได้รับจากวิทยากร​จากบริษัทปุ๋ย​รุ่งอรุณ​ ให้ความรู้​ในการใช้ปุ๋ยเคมี​ให้เกิดประโยช​น์ อย่างถูกต้อง​ ปลอดภัย​ จากนั้นมีกิจกรรม พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หมอดินอาสา และให้ความรู้ วิธีการใช้ เกี่ยวกับแอพลิเคชั่น เพื่อให้หมอดินอาสารับทราบเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการทำงาน รับทราบข่าวสาร และถ่ายทอด​ความรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน ตรวจวิเคราะห์ดิน โดยใช้ชุดทดสอบ​ดินภาคสนาม​ (NPK Test Kit)​ ของ​กรมพัฒนา​ที่ดิน​ การส่งตัวอย่างดินเพื่อ

ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ ในพื้นที่ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รูปภาพ
📣📣ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ ในพื้นที่ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸 วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2566 ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 7 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ดำเนินการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจ ในพื้นที่ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการชี้แจงและสำรวจพื้นที่ พบว่าประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถทำแบบสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าวได้

โครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566 (หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร) อำเภอเมือง

รูปภาพ
โครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566  (หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร) อำเภอเมือง วันที่ 9 มิถุนายน 2566  ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 4 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ดำเนินการโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร ณ ศูนย์ถ่ายทอดบ้านหมอดินอำเภอเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม คือ การทบทวนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน   เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน  ในการปรับปรุงบำรุงดิน  การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต  หลักการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี  และปุ๋ยชีวภาพ  และการใช้ AI Chatbot ของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นแหล่งข้อมูลงานวิชาการและงานบริการต่างๆของกรมพัฒนาที่ดิน  และการจัดกิจกรรมให้หมอดินอาสาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่  โดยมีหัวข้อ คือ  สภาพปัญหา จุดเด่น  และความต้องการของพื้นที่  รวมทั้งได้ร่วมกันคัดเลือกจุดเด่นของตำบลที่จะร่วมกันพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไปในอนาคต พบปะหมอดินอาสาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จากการทำงานในพื้นที่ต่างๆ และก

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 6 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่หมอดินอาสา ในพื้นที อำเภอบางขัน

รูปภาพ
วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 6 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่หมอดินอาสา ในพื้นที อำเภอบางขัน ตามความต้องการของหมอดินอาสา สืบเนื่องจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอความต้องการ จากการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร ในพื้นที่ตำบลบางขัน โดย สนับสนุน ถังหมัก และกากน้ำตาล เพื่อผลิตนำหมักชีวภาพ แก่หมอดินอาสารายใหม่ จำนวน 9 ราย และสนับสนุน โดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดิน ตามค่าวิเคราะห์ดินแก่หมอดินอาสา จำนวน 25 ตัน

โครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566 (หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร) อำเภอทุ่งสง)

รูปภาพ
โครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566  (หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร) อำเภอทุ่งสง) วันที่ 8 มิถุนายน 2566  ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 6 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ดำเนินการโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 กรมพัฒนาที่ดิน ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร ณ ศาลาประชาคม ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม คือ การทบทวนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ในการปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต หลักการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ และการใช้ AI Chatbot ของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นแหล่งข้อมูลงานวิชาการและงานบริการต่างๆของกรมพัฒนาที่ดิน และการจัดกิจกรรมให้หมอดินอาสาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ โดยมีหัวข้อ คือ สภาพปัญหา จุดเด่น และความต้องการของพื้นที่ รวมทั้งได้ร่วมกันคัดเลือกจุดเด่นของตำบลที่จะร่วมกันพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไปในอนาคต ในการนี้ นายคำนึง แสงขำ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ไ

สพด.นคร​ศรี​ฯ ​ร่วมปลูกต้นไม้​ เนื่องจาก​วันต้นไม้ประจำปีของชาติ​ 2566

รูปภาพ
วันที่​ 9 มิถุนายน​ 2566 นายคำนึง​ แสงขำ​ ผู้​อำนวยการ​สถานี​พัฒนา​ที่ดิน​นคร​ศรี​ธรรมราช​ พร้อม​เจ้า​หน้าที่​ ร่วมกันจัดกิจกรรม​วัน​ต้นไม้​ประจำปี​ของชาติ​ พ.ศ. 2566 โดยร่วมกันปลูก​ต้น​ไม้ภายใน​แปลง​อนุรักษ์​พันธุกรรม​พืช​อันเนื่องมาจาก​พระราชดำริ​ฯ​ ณ สถานี​พัฒนา​ที่ดิน​นคร​ศรี​ธรรมราช​

6-8 มิ.ย. 66 ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ พื้นที่ ตำบลกรุงหยัน อำเ​ภอทุ่งใหญ่​ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รูปภาพ
ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ ในพื้นที่ หมู่ที่ 1, 3,6,7 และ 8 ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันศุกร์ ที่ 6-8 มิถุนายน 2566 ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ดำเนินการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจ จากการชี้แจงและสำรวจพื้นที่ พบว่าประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถทำแบบสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว

ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ พื้นที่ ตำบลกรุงหยัน อำเ​ภอทุ่งใหญ่​ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รูปภาพ
ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจร่วมกับคณะทำงานฯ พื้นที่ ตำบลกรุงหยัน อำเ​ภอทุ่งใหญ่​ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันพฤหัสบดี ที่ 6 มิถุนายน 2566 ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1 สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช ร่วมกับคณะทำงานฯ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ดำเนินการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินพื้นที่ป่าไม้ถาวรที่ตกสำรวจ จากการชี้แจงและสำรวจพื้นที่ พบว่าประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถทำแบบสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว